by www.zalim-code.com

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

14 กุมภาพันธ์ 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  2204 เวลา 8.30 - 12.20 น.


      
 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปร่วมทำกิจกรรมแก้วน้ำส่วนตัวเพื่อไปร่วมพิธีเปิด แล้วเล่นเกมร่วมทำกิจกรรม
 
 
 





เวลา 10. 45 ได้เข้าห้องเรียนพร้อมกับนำเสนองานกลุ่ม  หน่วย ผม กลุ่มของดิฉันเอง

วันจันทร์  
 
เปิดประเด็นคำถามเกี่ยวกับผม ว่าผมของเด็กมีสีอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไรแล้วทำตารางวิเคราะห์เพื่อที่จะทำให้เด็กนับจำนวนเพื่อนที่มีผมสีดำกี่คนสีสีน้ำตาลกี่คน แล้วเพื่อนคนที่มีผมตรงกี่คนแล้วเพื่อนคนที่มีผมหยิกกี่คน แล้วให้เด็กใส่ตัวเลขกำกับ

วันอังคาร
 
จะเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนเมื่อวานว่าผมมีลักษณะอย่างไรบ้าง แล้ววันนี้จะเป็นเรื่องของหน้าที่ของผมโดยจะเป็นการนำเสนอด้วยนิทานเพื่อให้เด็กได้เข้าใจว่าผมมีหน้าที่อะไรบ้าง

วันพุธ  
 
ถามเด็กว่าเมื่อวานหน้าที่ของผมมีหน้าที่อะไรบ้าง แล้ววันนี้จะเป็นเรื่องของประโยชน์และข้อควรระวัง

วันพฤหัสบดี  
 
สอนเรื่องวิธีดูแลรักษาเส้นผม โดยจะมีการสาธิตปฏิบัติจริงเช่น การสระผมการดูแลเส้นผม จากวิกผม 

วันศุกร์ 
 
  อาชีพของผมมีอาชีพอะไรบ้าง พร้อมกับทำเป็นแผนภูมิให้เด็กนำแผ่นป้ายไปติดอาชีพที่เด็กชอบ แล้วดูการเปรียบเทียบเรื่องของจำนวนว่าอาชีพไหนที่เด็กชอบทำมากกว่ากัน





 
 
 
 
 

 

 
 
7 กุมภาพันธ์ 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  2204  เวลา 8.30 - 12.20 น.


    วันนี้กลุ่มที่ 2 ได้นำเสนอการสอนเกี่ยวกับ  หน่วยต้นไม้

 
วันจันทร์  
 
 มีการถามคำถามเด็กว่าที่บ้านเด็กๆมีต้นไม้อะไรบ้าง   การสอนวันนี้จะเป็นกาารสอนชนิดของต้นไม้2 ชนิด คือ ต้นไม้ยืนต้น และ ต้นไม้ล้มลุก  ให้เด็กสังเกตดูที่ลำต้นว่าถ้าแข็งแรงจะเป็นต้นไม้ยืนต้น  ถ้าไม่แข็งจะเป็นต้นไม้ล้มลุก
 
 
วันอังคาร  
 
ทบทวนคำถามที่เรียนไปเมื่อวาน วันนี้จะมาเรียนรู้ถึงเรื่องลักษณะของต้นไม้ทั้ัง2ชนิดนี้ ให้เด็กสังเกตต้นไม้ที่มีลำต้นที่แข็งแรงต้นนั้นจะเป็นไม้ยืนต้นจะมีลักษณะที่แข็งแรงเช่น กิ่งไม้ที่แข็งแรง ส่วนลำต้นที่ไม่แข็งแรงจะมีลักษณะลำต้นที่อ่อน  แล้วให้เด็กนับจำนวนต้นไม้แต่ละชนิดแล้วใส่ตัวเลขกำกับ

วันพุธ   
 
ส่วนประกอบของต้นไม้มีอะไรบ้างเช่น ลำต้นของต้นไม้มีหน้าที่อย่างไร ใบของต้นไม้ทำหน้าที่อะไร ราก กิ่ง ทำหน้าที่อะไรแล้วเด็กๆคิดว่า รากของต้นไม้เหมือนกับอวัยวะส่วนไหนของร่างกายเด็กๆบ้างคะ 

วันพฤหัสบดี  
 
ประโยชน์ของต้นไม้ทำหน้าที่อะไรได้บ้างโดยจะมีการเล่านิทานประกอบภาพให้เด็กดูเพื่อที่จะทำให้เด็กเข้าใจ

วันศุกร์  
 
ทษของต้นไม้มีอะไรบ้าง จะเป็นการเล่านิทานประกอบภาพให้เด็กดูเพื่อที่จะทำให้เด็กเข้าใจ 

31 มกราคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  2204  เวลา 8.30 - 12.20 น.





  ****วันนี้อาจารย์ได้แจ้งข่าวว่าวันที่ 10 กุมภาพันธ์       พ.ศ.2556 มีการจัดกีฬาสีเอกและงานเลี้ยงส่งพี่ปี 5 แล้วอาจารย์ก็ให้เพื่อนกลุ่มที่ 1 ฝึกสอนหน้าชั้นเรียน

กลุ่มที่1 สอนเรื่องดิน
วันจันทร์  สอนเรื่องชนิดของดิน 
              -  มีตัวอย่างดินมาลองให้จับและช่วยกันตอบว่าเรารู้จักดินอะไรบ้าง

วันอังคาร สอนเรื่องลักษณะของดิน   
 เพื่อนถามว่ารู้จักดินกี่ชนิดชนิดใดบ้างพวกเราก็ช่วยกันตอบและเพื่อนก็นำตัวอย่างดินที่เตรียมมาให้ลองจับแล้วเพื่อนก็ถามต่อว่าดินมีสีอะไรบ้าง เนื้อดินมีลักษณะอย่างไรบ้าง

วันพุธ   สิ่ง
ในดิน
 อะไรอาศัยอยู่ในดินบ้างคะ พวกเราก็ตอบว่า หนอน เปลือกไม้ ไส้เดือน กิ้งกือ เป็นต้น และเพื่อนก็ได้ถามต่อว่าสิ่งใดมีชีวิตและไม่มีชีวิตบ้าง

วันพฤหัสบดี  สอนเรื่องประโยชน์ของดิน
เพื่อนถามว่าดินสามารถทำประโยชน์ใดได้บ้าง เราช่วยกันตอบว่าปลูกต้นไม้ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ สร้างบ้าน เป็นต้น

วันศุกร์  สอนเรื่องอันตรายที่เกิดจากดิน
เพื่อนถามว่าอันตรายใดบ้างที่เกิดจากดินเราก็ช่วยกันตอบว่าพยาธิเมื่อเราไม่สวมรองเท้าเวลาเดินบนดินจะทำให้พยาธิตัวขอเข้าสู่ร่างกาย
24 มกราคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204  เวลา 8.30 - 12.20 น.

   
      
-   อาจารย์ได้สอนเรื่องของ จำนวนและการดำเนินการ ในมาตรฐาน 6 มาตรฐาน
และในหัวข้อเรื่องของ จำนวนและการดำเนินการ ก็มีหัวข้อย่อยดังนี้

  - การใช้จำนวนจากการนับ
  - การอ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอาราบิก และตัวเลขไทย
  - มีการเปรียบเทียบจำนวน
  - เรียงลำดับจำนวน 

 
****อาจารย์มีประชุมด่วน
 
-   ให้นักศึกษานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป  กลุ่มละ 20 นาที   
17 มกราคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น.

            

             วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงหลักการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ดังนี้

              -   ในการจัดประสบการณ์จะต้องให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำ
             
              -   ในการจัดประสบการณ์ต้องให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
             
              -    ในการจัดประสบการณ์จะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เช่น กิจวัตรประจำวัน หรือ สิ่งที่อยู่ในห้องเรียน การจัดกิจกรรมที่บูรณาการกับการเรียนกาสอน

 
                                                                   
 ****มาตรฐานการเรียนรู้ของ สสวท. มีดังนี้

1.  จำนวนและการดำเนินการ
2.  การวัด
3.  เรขาคณิต
4.  พีชคณิต
5.  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
10 มกราคม  2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  2204  เวลา 8.30 - 12.20 น.


  -   อาจารย์ได้ตรวจ   Mind Mapping   ทุกกลุ่มในห้องและอธิบายแนะนำวิธีการตที่จะนำไป
 
เขียนแผนการสอนของเด็กทั้ง 5 วัน ว่าในแต่ละวันควรสอนอะไรบ้างที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ของเด็ก
 



         ได้ยึดแนวทางในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของ อ.นิตยา  อ. เยาวภา และ กรอบมาตรฐาน  มาตรฐานการเรียนรู้ มี6 อย่าง

                      สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
 
                      สาระที่ 2 การวัด
 
                      สาระที่ 3 เรขาคณิต
 
                      สาระที่ 4 พีชคณิต
 
                      สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 
                      สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

 
3 มกราคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  2204  เวลา 8.30 - 12.20 น.



    -  อาจารย์ได้สั่งงานให้ตัดกล่องกระดาษ ขนาด กว้าง 4  นิ้ัว ยาว 4 นิ้ว  กว้าง 6 นิ้ว ยาว 6นิ้ว และ
 
กว้าง 8 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว อย่างละ 1แผ่น นำกระดาษมาทำเป็นรูปจิ๊กซอ เพื่อเป็นสื่อการสอนของวิชาการ
 
จัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
 
                     ***กระดาษที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ละขนาดก็สามารถที่จะสอนเด็กได้
27  ธันวาคม  2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  2204 เวลา 8.30 - 12.20 น.



     ***หมายเหตุ  วันนี้ไม่ได้เข้าเรียนเพราะว่าหยุดกลับบ้านที่ต่างจังหวัดเนื่องในวันปีใหม่ 
20  ธันวาคม  2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  2204 เวลา 8.30 - 12.20น.



***หมายเหตุ   วันนี้เป็นวันสอบกลางภาค

13 ธันวาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30-12.20น.

  
    
 
 กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์มีดังนี้

1.จำนวนและดำเนินการ คือ การเข้าใจในการแสดงจำนวน ความหลากหลายของการแสดงจำนวน
2. การวัด คือการหาค่า การเข้าใจพื้นฐาน มีน้ำหนัก ปริมาณ เงิน อุณหภูมิ
3. เรขาคณิต คือ รูปทรง
4. พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสำคัญ
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

  
 -    อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ให้เขียนหน่วยการสอนที่จะสอนใน1สัปดาห์โดยในรูปแบบของแมบปิ้ง กลุ่มของดิฉันได้หน่วย ตัวฉัน แต่ นำเสนอเรื่องของผมมีดังนี้
                
                        ...ชนิด
                        ...ลักษณะ 
                        ...สี
                        ...ประโยชน์
                        ...โทษ
                        ...ข้อควรระวัง
 
 
 
 
 




 
6 ธันวาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น.

          
 
      อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องกระดาษมา อาจารย์ถามว่า กล่อง1กล่องสามารถสอนคณิตศาสตร์ อะไรให้กับเด็กได้บ้าง
   
-  กล่อง1 กล่อง สามารถสอน เรื่อง รูปทรง ขนาด พื้นที่ผิว การนับ การจับคู่ขนาดของกกล่อง การเปรียบเทียบขนาดของกล่อง เป็นต้น
 
- อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ  10 คน    มีทั้งหมด 4 กลุ่ม กลุ่มของดิฉันอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อเรื่อง ให้นักศึกษาวางกล่องตามความคิดของตัวเองโดยที่ไม่ให้เพื่อนบอกว่าต้องวางตรงตำแหน่งไหน  กลุ่มของดิฉันได้วางกล่องเป็นรูป เรือ และตั้งชื่อ เรือปิโตเลียมไทย 

 
 สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนแต่ละกลุ่มได้ตั้งชื่อว่า
- เจสกีกับรถแทคเตอร์
- หุ่นยนต์
- หนอน
กลุ่มของดิฉันชื่อ เรือปิโตเลียมไทย









29 พฤศจิกายน  2555

วิชา การจัดประสบการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 .

   - ให้นักศึกษาจัดหน่วยการเรียนการสอนให้กับเด็กในเรื่องของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และให้ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยที่ดิฉันได้หัวข้อเรื่อง การวัด
     
หัวข้อเรื่องที่นำเสนอคือ  ปรมาณอาหารที่ให้สัตว์
กลุ่มที่ 1 เรื่องของการนับ จะสอนให้เด็กรู้จักการนับจำนวนสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ว่ามีจำนวนกี่ตัว
 
กลุ่มที่ 2 เรื่องของตัวเลข คือ การแทนค่าของจำนวนสัตว์ที่มีอยู่ในสวนสัตว์
 
กลุ่มที่ 3 เรื่องของการจับคู่  เป็นการจับคู่ของจำนวนสัตว์บกและสัตว์น้ำว่ามีกี่คู่
 
กลุ่มที่ 4 เรื่องของการจัดประเภท คือ ต้องมีเกณฑ์ในการแยกประเภทโดยที่จะแบ่งสัตว์เป็น2 กลุ่ม โดยมีเกณฑ์ว่า สัตว์บกกับสัตว์น้ำ
 
กลุ่มที่ 5 เรื่องของการเปรียบเทียบ  การเปรียบเทียบระหว่างสัตว์บกกับสัตว์ที่ไม่ใช้สัตว์ว่า สัตว์ชนิดไหนมีจำนวนมากกว่า
 
กลุ่มที่ 6 เรื่องของการจัดลำดับ การวัดส่วนสูงของสัตว์แล้วเรียงจากน้อยไปหามาก
 
กลุ่มที่ 7 เรื่องของรูปทรงและเนื้อที่  รูปทรงและเนื้อที่ตามที่อยู่อาศัยของสัตว์ เช่นที่อยู่ของช้าง ก็จะต้องไปรูปสี่เหลี่ยม
 
กลุ่มที่ 8 เรื่องของการวัด  ในเรื่องของการให้อาหารสัตว์จะต้องมีการชั่งให้มีปริมาณเท่ากัน
 
กลุ่มที่ 9 เรื่องของ เซต  ในเรื่องของการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มคือ สัตว์กินพืชกับสัตว์ไม่กินพืช
 
กลุ่มที่ 10 เรื่องของเศษส่วน  เรื่องของการแบ่งจำนวนของสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆกัน
 
กลุ่มที่ 11 เรื่องของทำตามแบบหรือลวดลาย  ในเรื่องของการเรียงลำดับรูปของสัตว์ แล้วให้เด็กทำกิจกรรมในเรื่องของการเรียงลำดับรูปตามแบบที่ครู เรียงไว้
 
กลุ่มที่ 12 เรื่องของการอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  การเทปูนพลาสเตอร์ลงในแม่พิมพ์ในปริมาณเท่าๆกัน
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2555 เวลา 8.30 - 12.20 น.  

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204  

ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ 



 - อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนชื่อจริงของตัวเองและวาดภาพที่เราชื่นชอบลงในกระดาษที่อาจารย์แจกให้

 -อาจารย์ถามว่าใครที่มาก่อนเวลา 8.30น.บ้าง  เด็กที่มาก่อน 8.30น. มีจำนวน 8 คน จะทำให้เด็กรู้จำนวนทั้ง

หมดจะแสดงเป็นตัวเลข ตัวเลขจะเป็นสัญญาลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ 



ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
             
นิตยา  ประพฤติกิจ.2541:17-19

1.การนับ  (Counting)  คือ เป็นการนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นและจำนวนที่ลดลง

2.ตัวเลข   (Number)   คือ การแทนค่าที่เป็นจำนวนตัวเลข การเรียงลำดับ

3.การจับคู่  (Matching) คือ  กรจับคู่ของความเหมือน  รูปร่าง

4.การจัดประเภท  (Classification) คือ การใช้เกณฑ์ในการจัดกลุ่ม

5.การเปรียบเทียบ  (Comparing)  คือ การสังเกต กรประมาณด้วยตา

6.การจัดลำดับ (Ordering)  คือ การจัดลำดับให้เป็นหมวดหมู่
7.รูปทรงและเนื้อที่ (Shape  and  space ) คือ  การมีพื้นที่มีปริมาณ มีความสูง ความกว้าง

8.การวัด (Measurement) คือ การใช้เครื่องมือในการวัด จะได้ค่าได้ปริมาณที่ได้เป็นตัวเลข

9.เซต (Set) คือ การจัดกลุ่ม

10เศษส่วน (Fraction) คือ ให้เด็กได้รู้ของทั้งหมดจำนวนเต็ม

11.การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)  คือ  แบบพื้นฐานที่เข้าใจร่วมกัน

12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)  เช่น การยกตัวอย่างของน้ำในแก้วน้ำ